มาลามูต้า (Maltese)

 


พันธุ์สุนัข

8.มาลามูต้า (Maltese)

สุนัขพันธุ์ มอลทีส จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก อยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์ทอย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Central Mediterranean Area) โดยชื่อพันธุ์ของสุนัขมีความเชื่อว่าเป็นสุนัขที่มาจากเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศมอลต้า (Malta) นอกจากนั้นบางครั้งก็ถูกกล่าวว่ามาจากเกาะเอเดรียติก (Adriatic island) ของประเทศโครเอเชีย (Mljet) หรือมาจากเขตชุมชนซิซิเลีย (Sicilian) ในเมืองเมลิต้า (Melita)

ลักษณะทางกายภาพ

หัวกะโหลกค่อนข้างกลม จมูกยาวปานกลางและมีสีดำที่ปลายจมูก ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อนได้ เมื่อสุนัขไม่โดนแดด มักเรียกว่า Winter nose และเมื่อเวลาผ่านไปจะกลับมาเป็นสีดำเหมือนเดิม หากสุนัขโดนแดด รูปร่างยาวสมส่วนกับส่วนสูง เรียว หูมีขนปกคลุมยาว มีดวงตาและขอบตาสีดำสนิท หรือเรียกว่า Halo เป็นลักษณะเด่นของมอลทีส

จัดเป็นสุนัขขนยาว นุ่มคล้ายเส้นไหม ซึ่งเจ้าของสุนัขมักจะตัดขนให้สั้นเป็นทรง puppy cut ให้เหลือความยาวแค่ 1-2 นิ้วเท่านั้น ให้ง่ายต่อกันทำความสะอาดขน หรือควรแปรงขนสัตว์ทุกวัน เพื่อป้องกันขนสัตว์พันกัน สีขนบริเวนหูเป็นสีขาวบริสุทธิ์ (Pure white), สีครีม (Cream), สีเหลืองเลม่อน (Light lemon), หรือสีงา (Pale ivory) โดยไม่มีนิยมสีใดสีหนึ่งเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจพบสีส้มซีด (Pale orange) เป็นสีที่เกิดจากความผิดปกติของสายพันธุ์

สุนัขมอลทีสโตเต็มวัย จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 5-12 ปอนด์ หรือ 2.3-5.4 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักมาตรฐานของสายพันธุ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมต่างๆของสัตว์ โดยสมาคม The American Kennel Club (AKC) กล่าวถึงน้ำหนักสัตว์ควรจะน้อยกว่า 7 ปอนด์ หรือน้อยกว่า 3.2 กิโลกรัม ให้อยู่ประมาณ 4-6 ปอนด์ หรือ 1.8-2.7 กิโลกรัม

อายุขัย

สุนัขพันธุ์มอลทีส โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 12-15 ปี

ลักษณะนิสัย

สุนัขพันธุ์มอลทีส เป็นสุนัขที่ชอบให้กอดหรืออุ้มอยู่เสมอ ต้องการความรักและการใส่ใจจากเจ้าของ มีนิสัยร่าเริง แจ่มใส ขี้เล่น แข็งแรง ชอบเห่าเมื่อไม่พอใจ มักจะกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง โดยไม่ต้องมีพื้นที่มากในการเลี้ยง สามารถรับมือกับเด็กที่ดื้อได้ เพื่อไว้ลดพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งเหมาะกับผู้พักอาศัยอพาร์ทเม้นท์ หรือทาวน์เฮาส์ที่ต้องการเลี้ยงสุนัข รวมถึงคนทั่วไปสามารถซื้อมอลทีสได้ ในบางครั้งอาจแสดงพฤติกรรมวิตกกังวล เจ้าของควรจะรู้ในพฤติกรรมของสุนัข และไม่ควรทิ้งให้อยู่ตามลำพังเป็นระยะเวลานานๆ

ในประเทศออสเตรเลีย (ไม่รวมรัฐ Tasmania) ออกกฎส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ (RSPCA) เนื่องจากเจ้าของมักจะทิ้งสุนัขพันธุ์มอลทีส เพราะชอบเห่าตลอดเวลา จึงเป็นพันธุ์ที่มีการถูกทิ้งมากที่สุด

การเข้ากับเด็ก

สุนัขพันธุ์มอลทีส ไม่นิยมถูกนำมาเล่นกับเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นสุนัขพันธุ์เล็กอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บจากเด็ก หรือหากสุนัขรู้สึกไม่ดีอาจแสดงพฤติกรรมดุร้ายกับเด็กได้ หากจำเป็นต้องให้เด็กอยู่ร่วมกับสุนัข ควรหาอุปกรณ์ป้องกันสวมให้กับเด็กและสุนัข รวมถึงควรสอนให้เด็กรู้จักวิธีการเข้าหาสุนัข และสอนสุนัขเคารพและเชื่อฟังเด็ก

การดูแล

การออกกำลังกาย

สุนัขพันธุ์มอลทีส ควรออกกำลังกายด้วยการเดินประมาณ 40 นาทีต่อวัน แบ่งเป็น 2 รอบ โดยส่วนใหญ่จะเกิดความเข้าใจผิดสำหรับสุนัขพันธุ์ทอย คือไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายมาก แต่ในความเป็นจริงควรให้ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีพลังงานมาก และเพื่อสุขภาพของสุนัขที่แข็งแรง

ในช่วงที่ยังเป็นลูกสุนัขจะมีความกระตือรือร้นในการออกกำลังกายเป็นพิเศษ สามารถเล่นกับสุนัขด้วยการให้คาบของมาคืน (Play fetch) หรือให้วิ่งรอบสนามหญ้า เป็นต้น

หากสุนัขพันธุ์มอลทีสไม่ได้ออกกำลังกาย จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมา หรือวิตกกังวล (Anxiety) เช่น การทำลายข้าวของภายในบ้าน รวมถึงทำให้สุขภาพของสุนัขแย่ลงได้

เป็นสุนัขที่ไวต่อสภาพอากาศ ควรระวังเรื่องอากาศร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป จะทำให้สุนัขเดินช้าลง หรือไม่ยอมเดิน จากภาวะอุณหภูมิภายในตัวสัตว์สูงขึ้น (Overheat) หรือมีไข้ เป็นต้น

อาหาร

สุนัขพันธุ์มอลทีส ควรให้ปริมาณอาหารประมาณครึ่งถ้วย แบ่งเป็น 2 มื้อเท่าๆกันต่อวัน เพื่อป้องกันสุนัขน้ำหนักเกินมาตรฐาน และอ้วนเกินไป นอกจากนั้นปริมาณอาหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ, กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism), น้ำหนักตัว, และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน สามารถปรับปริมาณอาหารให้สมดุลได้

เจ้าของสุนัขควรรู้ถึงนิสัยของสุนัข คือมีนิสัยเลือกกินอาหาร ในการให้อาหารครั้งแรกควรให้สุนัขได้เลือกหลายยี่ห้อ เพื่อให้สุนัขเลือกอาหารที่ชอบ และให้อาหารที่สุนัขเลือกนั้นเป็นประจำ

โรคประจำพันธุ์

สุนัขพันธุ์มอลทีส เป็นสุนัขที่ค่อนข้างแข็งแรง พบโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมไม่เยอะมาก แต่สามารถพบการเจ็บป่วย หรือมีปัญหาสุขภาพได้ การนำสุนัขมาเลี้ยงจากฟาร์มควรดูให้แน่ใจถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคทางพันธุกรรมด้วยใบรับรองประวัติสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

โรคที่พบบ่อย

  • โรคระบบประสาท
    • กลุ่มความผิดปกติในสุนัขพันธุ์เล็กสีขาว (White dog shaker syndrome)
    • โรควิตกกังวล (Anxiety)
    • โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • โรคระบบทางเดินอาหาร
    • โรคหินปูน
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
    • การจามกลับ (Reverse sneezing)
  • โรคตับ
    • ภาวะหลอดเลือดดำที่ตับลัดเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด (Portosystemic shunts (PSS))
  • โรคระบบกระดูก เอ็น และข้อต่อ
    • โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน (Patellar luxation)
    • โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip dysplasia)
  • โรคตา
    • โรคขนตาซ้อนแยง (Distichiasis)
    • โรคต้อกระจก (Cataract)
    • โรคต้อหิน (Glaucoma)
    • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy)


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม